การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) scope 3 กับภาคธุรกิจ (3/7): คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 2 ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเบื้องต้น

จากนั้นให้ประมาณการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละกิจกรรมเป็นผลการคำนวณเบื้องต้น โดยอาศัยข้อมูลและ Emission factor ที่เหมาะสม เพื่อระบุกิจกรรมหลักที่อาจส่งผลกระทบสูง แม้จะเป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ แต่ขั้นตอนนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมและจุดที่มีสำคัญขององค์กรได้ดี

โดยเบื้องต้นบริษัทจำเป็นต้องประเมินข้อมูลกิจกรรมที่มี เพื่อเลือกวิธีการคำนวณปริมาณ GHG ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลที่มี Greenhouse Gas Protocol หรือมาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจก ได้ให้คำแนะนำแนวทางในการคำนวณ Scope 3 ซึ่งมีหลากหลายวิธีโดยวิธีที่เลือกใช้จจะขึ้นกับความจำเพาะและข้อมูลที่มีอยู่

ตัวอย่าง วิธีการคำนวณ GHG Scope 3 หมวดหมู่ การขนส่งจากผู้ผลิตวัตถุดิบ ต้นน้ำ (Upstream transportation and distribution)

สำหรับภาคการเงิน Greenhouse Gas Protocol ได้กำหนดแนวทางการคำนวณไว้ใน Partnership for Carbon Accounting Financials (PCAF) สำหรับกิจกรรมหมวดหมู่ 15 การลงทุน ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐาน 3 เล่มได้แก่ Financed Emissions, Facilitated Emissions และ Insurance-Associated Emissions ที่ได้มีคำแนะนำในการคำนวณและรายงานการปล่อย GHG Scope 3 จากการดำเนินการเรื่องการลงทุนและการให้ประกัน นอกจากนั้น PCAF ยังส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังประเมินและเปิดเผยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงินผ่านการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการที่ดีที่สุดในการเปิดเผย GHG ด้านการเงินละการลงทุน

แหล่งที่มา: Partnership for Carbon Accounting Financials

นอกจากการพิจารณาเรื่องข้อมูลดิบที่มีอยู่แล้ว อีกหนึ่งค่าที่จำเป็นต้องพิจารณาคือ ค่า Emission Factor หรือ ค่า EF ซึ่งเป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำเป็นต้องเลือกค่าที่สอดคล้องกับปริมาณงานและหน่วยวัดที่กำหนด อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกกิจกรรมจะมีค่า EF เป็นของตัวเอง ทำให้อาจจะจำเป็นต้องสร้างค่า EF ที่สอดคล้องกับกิจกรรมขึ้นมาเอง

การเลือกใช้ค่า EF ที่ดี ควรใช้ค่า EF จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือแหล่งข้อมูลที่ถูกคำนวณโดยองค์กรเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือบริการนั้นเอง เพื่อที่จะได้ข้อมูลการคำนวณปริมาณการปล่อย GHG ที่มีคุณภาพและเที่ยงตรงที่สุด อย่างเช่น Apple ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Iphone Ipad และ คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีการจัดทำการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของบริษัท ดังนั้นถ้าหากเรามีการจัดซื้อผลิตภัณฑ์จาก Apple เราก็สามารถเข้าถึงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทมีการเปิดเผย เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณ GHG จากกิจกรรม scope 3 หมวดหมู่ 1 วัตถุดิบหรือบริการที่ซื้อมา

(Purchased goods and services)

แหล่งที่มา: Product Environmental Report iPhone 14 Pro

หากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่ได้มีการจัดทำค่า EF เป็นของตัวเอง เราสามารถอ้างอิงค่า EF จากข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลที่จัดทำในระดับสากลหรือประเทศ ที่เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เหมาะสมกับข้อมูลและการดำเนิกิจกรรมของบริษัทเช่น หากบริษัทดำเนินงานในประเทศไทย สามารถอ้างอิงค่า EF จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ในทางกลับกันหากบริษัทดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา อาจจำเป็นต้องอ้างอิงค่า EF จาก U.S. Environmental Protection Agency (US EPA) เป็นต้น

แหล่งที่มา: U.S. Environmental Protection Agency (US EPA)

และสุดท้ายหากบริษัทไม่สามารถเข้าถึงค่า EF ที่เหมาะสมในการคำนวณได้หรือไม่ได้สอดคล้องกับข้อมูลที่มีอยู่ อาจจำเป็นต้องมีการแปลงค่า EF ให้สอดคล้องผ่านการแปลงหน่วย เช่น ต้องการประเมิน GHG จากการซื้อกระดาษ A4 แต่ค่า EF ที่มีเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปริมาณกระดาษ ในหน่วยกิโลกรัม แต่บริษัทมีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษ A4 เป็นจำนวนแผ่น จึงต้องมีการประมาณค่าว่ากระดาษ A4 500 แผ่นจะมีน้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม หรือต้องการประเมิน GHG ของการใช้น้ำมันแต่พบว่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันของจักรยานยนต์ที่มีการเก็บข้อมูลอยู่ อยู่ในหน่วยของ กิโลเมตรต่อลิตร แต่ค่า EF ที่มีเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปริมาณการใช้น้ำมัน อยู่ในหน่วย ลิตรต่อกิโลเมตร ซึ่งจำเป็นต้องแปลงหน่วยกก่อนที่จะนำข้อมูลดิบมาคำนวณหา GHG ในขั้นต่อไป

สำหรับบริษัทที่ต้องการจัดทำค่า EF ของผลิตภัณฑ์ของตนเอง เพื่อใช้ในการเปิดเผยค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้แก่ผู้ซื้อ หรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประเมิน GHG ขององค์กร หรือใช้ในภาคธุรกิจ สามารถจัดทำได้ผ่านการจัดทำ Carbon Footprint Product (CFP) และทวนสอบโดยหน่วยงานทวนสอบที่ได้รับมาตรฐาน

แหล่งที่มา: https://www.eupedia.com/ecology/carbon_footprint_consumer_products.shtml

หลังจากที่ได้มีการเลือกค่า EF ที่จะใช้ในการคำนวณและเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องประเมินคุณภาพของการคำนวณผล ด้วยคุณภาพของค่า EF ที่เลือกตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ต่อมาเมื่อคำนวณ GHG จากทุกรายการกิจกรรมขององค์กรแล้ว จำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำคัญเชิงปริมาณ และทำการประเมินความสำคัญของแต่ละกิจกรรมอ้างอิงจากสัดสัดส่วนปริมาณการปล่อย GHG ของแต่ละกิจกรรม

ตัวอย่าง กำหนดเกณฑ์การประเมินความสำคัญเชิงปริมาณเป็น 5 ระดับ ได้แก่

ตัวอย่าง การปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเบื้องต้น

นอกเหนือจากความสำคัญในเชิงของปริมาณแล้วการประเมินความสำคัญของกิจกรรมในเชิงคุณภาพอย่างการประเมินความเสี่ยงและโอกาสนั้นก็ถือเป็นหลักการสำคัญในการประเมินการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 ต่อไปเราจอธิบายถึงแนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสของแต่ละกิจกรรมขององค์กร

ที่มาข้อมูล

  • บริษัท อิโคโนเวชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *