Sustainability & Climate Change

การสร้างความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์

บริการให้คำปรึกษาในการวางโครงสร้างความยั่งยืนในองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน และทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

การจัดทำรายงานความยั่งยืน

บริการพัฒนารายงานความยั่งยืนที่สอดคล้องกับกรอบการรายงานที่องค์กรมีความเกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดทิศทางขององค์กร และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การให้คำปรึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการคาร์บอน

บริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยองค์กรเข้าใจ และจัดการกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ

การให้คำปรึกษาโครงการ LESS

บริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยองค์กรดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ตามแนวทางโครงการ LESS

การสร้างความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Sustainability)

ความยั่งยืนได้กลายเป็นจุดสนใจหลักสำหรับบริษัทต่าง ๆ และกำลังถูกผนวกเข้ากับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยความยั่งยืนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรเพื่อสร้างสมดุลระหว่างหลายประเด็นสำคัญ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การปกป้องแบรนด์และภาพลักษณ์ของบริษัท การรักษาห่วงโซ่อุปทานให้แข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ

การสร้างความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Sustainability) หมายถึง การนำหลักการและแนวทางด้านความยั่งยืนมาผสานเข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในระยะยาว

โดยบริษัทจำเป็นต้องดำเนินการบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์องค์กร ระบุและจัดการความท้าทายในการดำเนินการหรือปรับปรุงกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กร รวมถึงระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพและศักยภาพในการสร้างรายได้ และเพิ่มการเติบโต ดึงนำตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและการดำเนินงานขององค์กร ทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจมาใช้เป็นกรอบในการวัดผลการดำเนินงาน จัดทำแผนเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาวเพื่อความยั่งยืน และประเมินความเสี่ยง และดำเนินวิเคราะห์แนวทางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

รายงานความยั่งยืน (Sustainability Report)

การจัดทำรายงานความยั่งยืน คือ การรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ รายงานนี้มักจะครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลพนักงาน การมีส่วนร่วมในชุมชน และการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม

กรอบการรายงานความยั่งยืนเป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรใช้ในการสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบันมีหลายกรอบการรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น 56-1 One Report, Sustainability Disclosure and Reporting Guide for Listed Company (SET), GRI Standards, Integrated Report Framework, Recommendations of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD), Carbon Disclosure Project (CDP)

การเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ตัดสินใจเพื่อการลงทุน โดยธุรกิจที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ถูกต้อง และครบถ้วนก็จะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียและดึงดูดให้ผู้ลงทุนเกิดความสนใจ อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจควรแสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจและบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental Social Governance หรือ “ESG”) เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการพิจารณาลงทุน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการคาร์บอน (Climate change and carbon management)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการคาร์บอนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรด้วยหลายเหตุผล การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนช่วยป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวน นอกจากนี้การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกปรับและการถูกฟ้องร้อง อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับองค์กร ซึ่งนำไปสู่ความเคารพและความไว้วางใจจากผู้บริโภคและคู่ค้า

การจัดการคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดขยะ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังมีผลบวกต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพชีวิตของชุมชน การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นการสนับสนุนสังคมโดยรวม และช่วยให้องค์กรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ผู้แทนจากกว่า 200 ประเทศได้เข้าร่วมเพื่อสร้างพันธสัญญาในการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะบรรลุเป้า “carbon neutrality” ภายในปี 2050 และ บรรลุเป้า “net zero emissions” ภายในปี 2065

ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่กลุ่มธุรกิจจำเป็นต้องบูรณาการการเข้ากับวิสัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กร และจำเป็นต้องเตรียมแผนงานเพื่อให้สามารถที่จะนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้อย่างทันถ่วงที

โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme)

โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือเรียกว่าโครงการ LESS มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกย่องผู้ทำความดีโดยการมอบใบประกาศเกียรติคุณ (Letter of Recognition: LOR) เพื่อให้ผู้ดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกได้รับการยอมรับ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินทางเทคนิควิชาการ และนำมาผนวกกับแนวคิดการให้การสนับสนุน (Support) จาก “ผู้ให้” ในภาคองค์กร/ธุรกิจ ไปสู่ “ผู้รับ” ในสังคม/ชุมชน ทั้งนี้ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโครงการ LESS เป็นการประเมินเบื้องต้นเพื่อการประกาศเกียรติคุณ ดังนั้นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ LESS จึงไม่สามารถนำไปซื้อ-ขายได้