การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) scope 3 กับภาคธุรกิจ (2/7): วิเคราะห์กิจกรรมของธุรกิจ

ขั้นตอนที่ 1 สร้างรายการกิจกรรม Scope 3 ทั้งหมด

ขั้นตอนแรกคือการระบุแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมทั้งหมดตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงกิจกรรมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กิจกรรมของผู้ผลิต การขนส่งสินค้า การใช้งานโดยลูกค้า ไปจนถึงการกำจัดผลิตภัณฑ์ รวมถึงกิจกรรมของบริษัทในเครือและพันธมิตรอื่นๆ

แหล่งที่มา: Corporate Value Chain (Scope 3) Accounting and Reporting Standard

หลายองค์กรมักประสบปัญหาในการระบุแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากองค์กรมีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้ยากต่อการมองภาพรวมการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้เกิดความง่าย และสามารถระบุกิจกรรมที่ครอบคลุม Greenhouse Gas Protocol หรือมาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจก ได้มีการกำหนดหมวดหมู่ของ Scope 3 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กรออกเป็น 15 หมวดหมู่ดังนี้

แหล่งอ้างอิง: https://go-positive.co.uk/why-scope-3

บริษัทสามารถนำหมวดหมู่ที่ถูกกำหนดนี้ใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการระบุกิจกรรมขององค์กร ซึ่งอาจประเมินในรูปแบบ checklist จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงความหมายของแหล่งปล่อย GHG จากกิจกรรมในองค์กร และเห็นภาพแหล่งที่มาของข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินในขั้นถัดไปได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่าง checklist ระบุแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก

หลังจากสร้างรายการกิจกรรม Scope 3 ทั้งหมดขององค์กรแล้ว ต่อมาจะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเบื้องต้นเพื่อให้องค์กรเห็นภาพโดยกว้างว่ากิจกรรมใดเป็นกิจกรรมที่ปล่อย GHG หลักขององค์กรและจำเป็นต้องถูกนำมาคำนวณอยู่ใน Scope 3 ในทางกลับกันก็สามารถระบุได้ถึงกิจกรรมที่ไม่มีการปล่อย GHG อย่างมีนัยสำคัญซึ่งสามารถตัดออกได้ในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก

ที่มาข้อมูล

  • บริษัท อิโคโนเวชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *