การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) scope 3 กับภาคธุรกิจ (5/7): ประเมินความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความสามารถในการติดตามข้อมูล

ข้อมูลที่ต้องการใช้ในการประเมินการปล่อย GHG scope 3 เป็นข้อมูลที่องค์กรจำเป้นต้องขอจากหน่วยงานภายนอกเช่น ซัพพลายเออร์ หรือบริษัทจำเป็นต้องมีกระบวนการติดตามข้อมูลเพื่อให้ได้มาของข้อมูลที่มีความต่อเนื่องและมีคุณภาพ ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าหลายข้อมูลเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างอ่อนไหวในการทำธุรกิจระหว่างกัน เช่นอาจเป็นข้อมูลที่ซัพพลายเออร์ไม่ต้องการให้เกิดการเปิดเผยต่อสาธารณะ ทำให้จำเป็นต้องมีการควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูล ดังนั้นการที่เราสำรวจความพร้อมของข้อมูลควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลที่สามารถจัดทำได้อย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยว่าข้อมูลที่ได้รับมามีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนหรือไม่ หรือมีการรับรองหรือไม่ ก่อนที่จะเผยแพร่หรือส่งมาให้องค์กรในการคำนวณ GHG ในขั้นต่อไป รวมถึงข้อมูลมีความถี่ที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การติดตามรายงานและประเมินผลได้ตามรอบเวลาที่องค์กรกำหนดหรือไม่

โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำคัญเชิงความสามารถในการติดตามข้อมูล และทำการประเมินความสำคัญของแต่ละกิจกรรมอ้างอิงจากเกณฑ์

ตัวอย่าง  กำหนดเกณฑ์การประเมินความสำคัญเชิงความสามารถในการติดตามข้อมูล เป็น 3 ระดับ ได้แก่

เมื่อเราประเมินทำการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปล่อย GHG ของแต่ละกิจกรรมแล้ว เราจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม Scope 3 โดยอ้างอิงจากระดับที่เราได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ โดยในบทต่อไปจะแนะนำแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม Scope 3 เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการประเมินได้อย่างถูกต้อง

ที่มาข้อมูล

  • บริษัท อิโคโนเวชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *