การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) scope 3 กับภาคธุรกิจ (7/7): ผู้มีส่วนได้ส่วนสียภายในและภายนอก
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินการจัดจ้างผู้ดำเนินการภายนอก และการมีส่วนร่วมกับพนักงานในองค์กร
องค์กรต้องพิจารณาการดำเนินงานที่สัมพันธ์กับธุรกิจหลักขององค์กร โดยเฉพาะในแง่ของระดับการควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากองค์กรจัดจ้างผู้รับจ้างภายนอก เช่น การว่าจ้างผลิตสินค้า หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก องค์กรต้องประเมินว่ากิจกรรมนั้นส่งผลต่อการปล่อย GHG ขององค์กรอย่างไร สิ่งสำคัญคือ ในบางกรณี การปล่อย GHG ของผู้รับจ้างอาจถูกนับซ้ำกับกิจกรรม Scope 3 อื่น ๆ ได้ เช่น การว่าจ้างจัดหาวัตถุดิบ และการว่าจ้างผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ องค์กรควรกำหนดขอบเขตการปล่อย GHG ของผู้รับจ้างในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน
โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินความสัมพันธ์กับผู้ดำเนินการภายนอก และทำการประเมินความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมอ้างอิงจากเกณฑ์
ตัวอย่าง กำหนดเกณฑ์การประเมินความสัมพันธ์กับผู้ดำเนินการภายนอก เป็น 3 ระดับ ได้แก่
องค์กรควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการลดการปล่อย GHG เนื่องจากในบางรายการกิจกรรมพนักงานเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในการปฏิบัติงานและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร หรืออาจะมีบทบาททางอ้อมในการช่วยให้เกิดการปล่อย GHG เช่นมีส่วนร่วมในการประสานงานโครงการ หรือมีความเกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนโครงการลดปล่อย GHG โดยเฉพาะในกิจกรรม Scope 3 ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กร ดังนั้นการประเมินความสามารถในการมีส่วนร่วมกับพนักงานภายในองค์กร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรประเมินความยากง่ายในการบรรลุโครงการลด GHG ที่ต้องเกี่ยวข้องกับพนักงานภายในองค์กร และสามารถวางแผนและดำเนินการลด GHG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การลดการเกิดขยะหรือของเสียที่ต้องส่งไปกำจัดภายนอกองค์กร โดยพนักงานสามารถมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและของเสียที่ต้องส่งไปกำจัดภายนอกองค์กร โดยการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล ลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ และการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและเชื้อเพลิง โดยพนักงานสามารถช่วยลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองจากภายนอก เช่น กระดาษ พลาสติก หรือลดการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทาง โดยการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด หรือส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
การประเมินนี้อาจทำได้โดยการให้ความเห็นว่า “มี” หรือ “ไม่มี” โอกาสในการมีส่วนร่วมของพนักงาน หรืออาจแบ่งเป็นระดับการมีส่วนร่วมก็ได้ ผลการประเมินนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถคัดเลือกกิจกรรม Scope 3 ที่จะดำเนินการทันทีหรือวางแผนดำเนินการในปีต่อไป โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วมกับพนักงานภายในองค์กร และทำการประเมินการมีส่วนร่วมกับพนักงานภายในองค์กรของแต่ละกิจกรรมอ้างอิงจากเกณฑ์
ตัวอย่าง กำหนดเกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วมกับพนักงานภายในองค์กร เป็น 3 ระดับ ได้แก่
ตัวอย่าง การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม Scope 3
ที่มาข้อมูล
- บริษัท อิโคโนเวชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
- องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)